วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data
ระบบ (System)
คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน
ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Peopleware) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล 1.
หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video
Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair) 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า
CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์
มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล
หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ
การเปรียบเทียบ หน่วยความจำ
เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล 3.หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น
ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท หน่วยความจำภายใน - หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว
ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น
มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา
ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ
ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ - หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว
ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ
ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่ 2.หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก
แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM แผ่นดิสก์หรือสเกต
เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก
การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์
โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ
แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้ แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้
1.2 MB แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว
แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ
720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ 8 Bit 1 Byte 1 Byte 1 ตัวอักษร 1 KB 1,024 Byte 1 MB 1,024 KB 1 GB 1,024 MB 1 TB 1,024 GB หน่วยความจำต่ำสุด คือ
บิต (BIT [Binary Digit]) โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ
หรือ 1 ไบต์ (Bite) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย
คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ 1 กิโลไบต์
มีค่าเท่ากับ 2 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์
หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์ ฮาร์ดดิสก์ (
Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง
ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ
1.ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว) 2. ขนาด 3.5 นิ้ว ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ
ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ
ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป Data Rate หมายถึง
ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์
(หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น
จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps ) ซีดีรอม (CD-Rom
) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี
คุณสมบัติดังนี้ เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง
2 GB (2 พันล้านไบต์)
มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว (
Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้
3.หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer) ซอฟแวร์ (Software)
หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี
2ประเภท คือ ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์
ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS,
Windows, Os/2, Unix ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ บุคลากร (Peopleware)
หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์
เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_06.htm
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น